ข้ามไปเนื้อหา

หม่อมเจ้านิตยากร วรวรรณ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
หม่อมเจ้านิตยากร วรวรรณ
หม่อมเจ้า ชั้น 4
ประสูติ5 เมษายน พ.ศ. 2436
สิ้นชีพตักษัย16 มีนาคม พ.ศ. 2514 (77 ปี)
หม่อมหม่อมแก้ว วรวรรณ ณ อยุธยา
หม่อมเล็ก วรวรรณ ณ อยุธยา
พระบุตรหม่อมราชวงศ์อาชวากร วรวรรณ
หม่อมราชวงศ์กัลยากร วรวรรณ
หม่อมราชวงศ์อัศวินี สนิทวงศ์
หม่อมราชวงศ์ดัชรีรัชนา รัชนี
หม่อมราชวงศ์ศุภนิตย์ วรวรรณ
หม่อมราชวงศ์นิติมา พนมยงค์
หม่อมราชวงศ์มลุลี สายาลักษณ์
หม่อมราชวงศ์มัลลิกา วรวรรณ
ราชสกุลวรวรรณ
ราชวงศ์จักรี
พระบิดาพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์
พระมารดาหม่อมผัน วรวรรณ ณ อยุธยา

ร้อยเอก นายหมวดโท หม่อมเจ้านิตยากร วรวรรณ (5 เมษายน พ.ศ. 2436 — 16 มีนาคม พ.ศ. 2514) อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพระนครศรีอยุธยา พระโอรสในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ ประสูติแต่หม่อมผัน วรวรรณ ณ อยุธยา

พระประวัติ

[แก้]

หม่อมเจ้านิตยากร วรวรรณ มีพระนามลำลองว่า ท่านชายเต๋อ เป็นพระโอรสองค์ที่ 10 ในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ ประสูติแต่หม่อมผัน วรวรรณ ณ อยุธยา เมื่อวันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2436 ทรงศึกษาที่วังวรวรรณ โรงเรียนราชวิทยาลัย (ปัจจุบันคือโรงเรียน ภ.ป.ร. ราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์) และโรงเรียนนายร้อยทหารบก ตามลำดับ

หม่อมเจ้านิตยากรผนวชเป็นพระภิกษุ ขณะชันษา 20 ปี เมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2456 ณ พระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม โดยมีสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาวชิรญาณวโรรส เป็นพระอุปัชฌาย์ พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นชินวรสิริวัฒน์ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ ผนวชแล้วไปจำพรรษา ณ วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร[1]

ต่อมาทรงถวายตัวเป็นมหาดเล็กในสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าประชาธิปกศักดิ์เดช ขณะนั้นเกิดสงครามโลกครั้งที่หนึ่งขึ้น นายร้อยเอก หม่อมเจ้านิตยากร ทรงอาสาไปราชการสงครามในตำแหน่งผู้บังคับกองร้อยที่ 1 กองทหารบกรถยนต์ ในราชการครั้งนั้นได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีศักดิ์รามาธิบดีชั้นอัศวิน และได้รับเครื่องอิสริยาภรณ์เลฌียงดอเนอร์ของประเทศฝรั่งเศส

ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เป็นราชองค์รักษ์ ต่อมาได้กราบถวายบังคมลาออกจากราชการมาประกอบอาชีพส่วนตัวบริหารกิจการรถไฟสายท่าเรือ–พระพุทธบาท และยังได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ถึง 2 สมัย ในสังกัดพรรคสหชีพ โดยได้รับเลือกครั้งแรกในการเลือกตั้งเมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2489 แทนที่ปรีดี พนมยงค์ ที่ลาออกไปก่อนหน้านั้นจากการสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล โดยบทบาทในทางการเมืองของ หม่อมเจ้านิตยากร เป็นที่โดดเด่นมาก ถือเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฏรที่ฝีปากจัดจ้าน กล้าพูดกล้าวิจารณ์ จนได้รับฉายาว่า "เห่าหม้อ" จากการที่เมื่อทรงปราศรัยหรือพูดจบ มักจะลงท้ายด้วยคำว่า "เห่าหม้อ" ทุกครั้ง[2][3]

ชีวิตส่วนองค์

[แก้]

หม่อมเจ้านิตยากร เสกสมรสกับหม่อมแก้ว (สกุลเดิม เอี่ยมจำนงค์) มีโอรสและธิดารวมทั้งหมด 8 คน คือ

  1. หม่อมราชวงศ์อาชวากร วรวรรณ
  2. หม่อมราชวงศ์กัลยากร วรวรรณ
  3. หม่อมราชวงศ์อัศวินี สนิทวงศ์
  4. หม่อมราชวงศ์ดัชรีรัชนา รัชนี (หม่อมในหม่อมเจ้าภีศเดช รัชนี)
  5. หม่อมราชวงศ์ศุภนิตย์ วรวรรณ
  6. หม่อมราชวงศ์นิติมา พนมยงค์

หม่อมเจ้านิตยากร มีธิดากับหม่อมเล็กอีก 2 คน คือ

  1. หม่อมราชวงศ์มลุลี สายาลักษณ์
  2. หม่อมราชวงศ์มัลลิกา วรวรรณ

หม่อมเจ้านิตยากร วรวรรณ ถึงชีพิตักษัยเมื่อวันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2514 สิริชันษา 77 ปีเศษ[4]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย

[แก้]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ

[แก้]

พงศาวลี

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "การทรงผนวชและบวชนาคหลวง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 30 (ง): 784–788. 20 กรกฎาคม 2456. สืบค้นเมื่อ 11 ตุลาคม 2559. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. ประวัติทางรถไฟสายท่าเรือ-พระพุทธบาท(รถไฟกรมพระนรา) โดยเจฟฟ์ จากเว็บบอร์ดการรถไฟแห่งประเทศไทย
  3. ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช. ชีวลิลิต. กรุงเทพฯ : มูลนิธิม.ร.ว. เสนีย์ ปราโมช, 2548. 216 หน้า. ISBN 9749353501
  4. "พระประวัติหม่อมเจ้านิตยากร วรวรรณ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-07-17. สืบค้นเมื่อ 2013-05-17.
  5. พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 39 หน้า 3403 วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2465
  6. พระราชทานเหรียญราชรุจิ เล่ม 33 หน้า 3280 ราชกิจจานุเบกษา วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2459
  7. พระราชทานเข็มข้าหลวงเดิม